4mk_1

ประวัติความเป็นมา

ดอนแก้ว เป็นเกาะเล็กๆ กลางหนองหานน้อยกุมภวาปี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำปาว ตำนานเล่าว่า พระอรหันต์กลุ่มหนึ่งจะไปนมัสการพระธาตุพรม ได้มาพักแรมที่ดอนแก้ว พระอรหัตนต์องค์หนึ่งอาพาธหนักถึงนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายที่เหลื่ออยู่จึงถวายเพลิงท่าน และก่อเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 11 มีกล่มคนเข้ามาในดอนแก้วแล้วสร้างใบเสมาหินทรายล้อมรอบพระธาตุไว้ และปักรายรอบยริเวณดอนแก้ว จากการศึกษาพบว่าเป็นเสมาสมัยทวารวดี

ต่อมาชุมชนลาวได้อพยพจากเมื่องร้อยเอ็ด เมืองชัยภูมิ เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ดอนแก้ว มีท้าวชินเป็นหัวหน้าชุมชน ได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์ขึ้น (จากจารึกที่ฐานพระธาตุเป็นตัวลาวโบราณ) บอกว่าบูรณะเสร็จสิ้นปี พ.ศ.2441

ประมาณ ปี พ.ศ.2471 มีชุมชนหลายกลุ่มเข้ามาอยู่ในดอนแก้ว ส่วนใหญ่เป็นลางเวียง จึงได้สร้างวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นที่ดอนแก้วให้ชื่อว่า”วัดมหาธาตุเจดีย์

พ.ศ. 2513 พระครูสังฆรักษ์ (ชน) เจ้าอาวาส ร่วมมือกับชาวบ้านดอนแก้วปฏิสังขรณ์พระธาตุให้แข็งแรงกว่าเดิม จากการศึกษาของนักโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบว่า อายุของพระธาตุเจดีย์มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,500 ปี และเสมาที่ปักรายรอบมีอายุประมาณ พ.ศ.11

ลักษณะทั่วไป

ดอนแก้วมีพื้นที่ลักษณะกลม มีคูน้ำล้อมรอบ ภายในเกาะเป็นที่ดอนสูงๆต่ำๆ ใช้ทำการเกษตรไม่ได้ ชาวบ้านมาอยู่อาศัยบริเวณชายน้ำริมเกาะ

หลักฐานที่พบ

พบเสมาหินทรายสมัยทวารวดี บางทีมีภาพจำหลักมีจารึกที่ลบเลือนอ่านไม่ออก เสมาหินทรายปักรอบพระมหาธาตุเจดีย์ และอีกส่วนปักห่างจากพระมหาธาตุเจดีย์ไปประมาณ 500 เมตร พบพระพุทธรุปหินทรายแดง และพระพทธรูปสำริด ฝีมือช่างพื้นบ้าน

พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง 2 ชิ้น ชั้นแรกกว้างด้านละ 14 ม. สูง 1.25 ม. มีทางขึ้นลงด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตะวันตก ชั้นที่ 2 กว้างยาวด้านละ 10 ม. สูง 1.50 ม. มีทางขึ้นลง 4 ด้าน และฐานขั้นนี้เป็นลานประทักษิณเจดีย์

องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน ก่อจากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีประติมากรรมปูนปั้นรูปกลีบบัวหงายประดับที่มุมทั้ง 4 และมีประติมากรรมนูนต่ำ ภาพพระพุทธเจ้าพระสาวก เทวดา และบุคคล ประดับโดยรอบ

เรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น สูงขึ้นไปตามลำดับ โดยมีบัวคว่ำ บัวหงาย และบัวลูกแก้วคั่น เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมล้านช้าง คล้ายธาตุไม้ของอีสาน เป็นการรับอิทธิพลพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ยอดธาตุเป็นปลีเล็กเรียวแหลมขึ้นไป

พบใบเสมาหินทราย บางหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน บางหลักกลมใหญ่ บางหลักกลมเฉพาะตอนต่ำจากฐาน ตอนหนือฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนา ยาวขึ้นไปกว่า 3 เมตร หลักหนึ่งมีภาพจำหลักเป็นฐานกลีบบัว เหนือกลีบบัวเป็นรูปคล้ายช้างคู่คู่หนึ่งถวายความเคารพเทวรูปสตรีที่ประทับกึ่งกลาง แสดงปางพระพุทธเจ้าประสูติหลักหนึ่งมีจารึกที่ลบเลือนอ่านไม่ออก เสมาหลายหลักปรักหักพัง

สถานที่ตั้ง

ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนแก้ว ตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

เส้นทางเข้าสู่พระธาตุดอนแก้ว

เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีตามทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี – ขอนแก่น ถึงทางพาดกุมภวาปีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่อำเภอกุมภวาปี ระยะทาง 15 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอ เดินทางเข้าสู่เกาะดอนแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร