งานงิ้ว เป็นงานประจำปีของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จัดโดยคณะกรรมการมูลนิธิศาลเจ้า เพื่อสักการะให้ความเคารพ บูชา เทพเจ้าที่ช่วยปกป้องคุ้มครองลูกหลาน ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ในงานมีการแสดงขบวนแห่ อาทิ ขบวนสิงโต มังกร เอ็งกอ ล่อโก๊ว การแสดงงิ้ว ดนตรี นักร้อง ให้ความบันเทิง และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ
ในการจัดงาน การแสดงที่ขาดไม่ได้นั้น จะเป็นการแสดง งิ้ว เรามาทำความรู้จักกับการแสดง “งิ้ว”
ความเป็นของงิ้ว
งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เป็นศิลปะการแสดงที่มีความหลากหลาย ผสมผสานระหว่างการขับร้อง
และการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์
ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วยเช่นกัน งิ้วได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และยกระดับงิ้วให้เป็น “มรดกโลก”
ความโดดเด่นของการแสดงงิ้ว นอกจากลีลาการร่ายรำ การเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้ว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้า ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
นอกจากความโดดเด่นด้านการร่ายรำ เสื้อผ้า และการแต่งหน้าแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่บางคนอาจจะยังไม่ทราบ ในการแสดงงิ้วในบทรบ คือ “ธงรบ” เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะดุดตา ในยามที่นักรบออกลีลา วาดลวดลายท่าทางการรบต่างๆ ธงรบที่ว่านี้จะถูกประดับอยู่ที่ด้านหลังของชุดเกราะนักแสดงเป็นจำนวนสี่อัน โดยมีผืนธงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
ในการแสดงงิ้วมีอยู่ตัวละครหนึ่งที่ไม่สวมธงรบนั่นคือ “กวนอู” จากการสอบถามอาจารย์ซ่งเป่าหลัว นักแสดงงิ้วปักกิ่งอายุ 97 ปีในปี 2013 ท่านอธิบายว่า เนื่องจากบทกวนอูมักจะปรากฏในภาพลักษณ์ที่สวมเสื้อคลุม ทำให้ไม่สะดวกในการเปลี่ยนชุดไปมา ก็เลยเป็นธรรมเนียมต่อมาว่าบทนี้ไม่ต้องมีธงรบ แม้จะอยู่ในฉากรบก็ตาม
ตั้งแต่เล็กจนโต แอดมินเพจเฟสบุ๊ค ก้าวหน้ากุมภวาปี FM 89.50 MHz ก็ได้เห็นเทศกาลงานงิ้วมาตลอด วันนี้จะมาไขข้อข้องใจว่างานงิ้วนี้จัดขึ้นทำไม วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้คืออะไร วันนี้ทางเพจเฟสบุ๊ค ก้าวหน้ากุมภวาปี FM 89.50 MHz ได้รับเกียรติจากหนึ่งในคณะกรรมการผู้จัดงาน งานงิ้วกุมภวาปี เมืองเก่า ที่กรุณามาไขข้อข้องใจให้กับเรา
อยากทราบว่าประเพณีงิ้วนี้เริ่มต้นขึ้นอย่างไร และมีความสำคัญกับชุมชนอย่างไรบ้าง ?
งานงิ้วกุมภวาปีเมืองเก่าถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดมายาวนานถึง 74 ปี สะท้อนให้เห็นถึงความแน่นแฟ้นของชุมชนไทย-จีนในท้องถิ่น โดยในแต่ละปี งานนี้ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงงิ้วเท่านั้น แต่ยังเป็นสะพานเชื่อมความสามัคคีระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน
งานนี้มีเป้าหมายหลักหรือแนวคิดที่ต้องการสื่อสารให้กับผู้เข้าร่วมอย่างไรบ้าง ?
เป็นการผสมผสานระหว่างการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างลงตัว ที่ไม่เพียงแต่รักษาความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม แต่ยังสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในวงกว้างอีกด้วย
ความพิเศษของงานปีนี้ มีไฮไลท์หรือกิจกรรมที่พิเศษกว่าปีที่ผ่านมาไหมคะ ?
ไฮไลท์พิเศษของปีนี้คือการผนวกมิติด้านเศรษฐกิจชุมชนเข้ากับงานวัฒนธรรม โดยเปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าในท้องถิ่นได้มาจำหน่ายสินค้า เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง
การเลือกงิ้วมาแสดงงิ้วครั้งนี้ มาจากที่ไหน เพราะอะไรถึงเลือกคณะนี้ ?
การแสดงงิ้วปีนี้ได้รับเกียรติจากคณะงิ้วจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นต้นตำรับอุปรากรจีนแท้ มาสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม
งานงิ้วในกุมภวาปี ประจำปี 2567 จัดขึ้นเมื่อไหร่คะ ?
งานงิ้วกุมภวาปี เมืองเก่า
จัดขึ้นในวันที่ 2-6 พฤศจิกายน 2567
ณ ศาลเจ้าปู่-ย่า เมืองเก่า และ ที่สนามโรงเรียนบ้านน้ำฆ้อง อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ชมดนตรีวง คอทองแดง
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ชมดนตรีวง ท๊อป มอซอ
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ชมหมอลำคณะ คำผุนรวมมิตร (ชมฟรี)
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ฉายหนังกลางแปลง
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ชมนักดนตรี เอ็กซ์ ศุภกฤต
งานงิ้วกุมภวาปี เมืองใหม่
วันที่ 12 – 16 พฤศจิกายน 2567
ณ ศาลเจ้าปู่-ย่า กุมภวาปี ริมลำน้ำปาว
วันที่ 12
-อัญเชิญเจ้าปู่-ย่า ออกโปรดลูกหลานรอบเมืองกุมภวาปี
-ชมขบวนแห่มังกร
-สิงโตดอกเหมย
วันที่ 13-16 ชมงิ้วทุกคืน
มีอะไรที่อยากฝากถึงผู้ที่สนใจมาร่วมงาน
ทางผู้จัดงานขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย-จีนอันทรงคุณค่านี้ พร้อมทั้งสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนด้วยการอุดหนุนสินค้าจากพ่อค้าแม่ค้าท้องถิ่น เพื่อให้งานประเพณีอันดีงามนี้ ยังคงอยู่คู่ชุมชนกุมภวาปีสืบไป
ทั้งนี้ทางเพจเฟสบุ๊ค ก้าวหน้ากุมภวาปี FM 89.50 MHz ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงานงิ้วกุมภวาปี ซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยสร้างความสามัคคีในชุมชนและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย – จีน อันทรงคุณค่า มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนทั้งศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้ประเพณีอันดีงามนี้ยังคงสืบทอดต่อไป
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริม วัฒนธรรม
https://www.facebook.com/udoninfo